Durain

[ทุเรียนเงินล้าน][bsummary]

Date Palm

[อินทผลัม][twocolumns]

Cactus

[แคคตัส][bleft]

Adenium

[ชวนชม][bsummary]

Garden

[จัดสวน][bsummary]

การปลูกกาแฟ โรบัสตา ร่วมยางพารา

การวิจัยการปลูกกาแฟร่วมยางพาราได้มีการทดลองปลูกในภาคใต้ตอนล่าง งานทดลองนี้เป็นแนวทางที่ผสมผสานกับนโยบายการลดพื้นที่การปลูกยางพาราในแปลงที่ให้ผลผลิตแล้ว และยางพาราเริ่มปลูกใหม่ เนื่องจากที่ผ่านมาราคายางพารามีราคาตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก จึงมีเกษตรกรหลายราย เลือกพืชชนิดใหม่มาปลูกร่วมกับยางพารา 


การปลูกพืชร่วมยางพารานั้น ควรเป็นไปตามหลักวิชาการ ที่สามารถให้ผลผลิตในปริมาณที่เหมาะสม และเพื่อเป็นข้อมูลส่าหรับเกษตรกรผู้ปลูกยาง และการยางแห่งประเทศไทยที่มีแนวทางการลดพื้นที่การปลูกยางที่เป็นระบบในการดำเนินงานการขอทุนการปลูกยางในอนาคต ซึ่งระบบรากของยางพาราเป็นอุปสรรคสำคัญในการปลูกพืชร่วมยาง ทำให้ต้องวิจัยหาวิธีการลดพื้นที่การปลูกยางพารา และเพิ่มจำนวนต้นกาแฟด้วยวิธีการแบ่งแยกพื้นที่ปลูกพืชทั้งสองชนิดเป็นกลุ่ม เพื่อลดปัญหาร่มเงาและการรบกวนของระบบราก จึงเป็นแนวทางในงานวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบจากการปลูกกาแฟโรบัสตาโดยใช้ระบบการปลูกพืช (cropping system) ที่ใช้วิธีการลดจำนวนต้นเพื่อสร้างโอกาส การพัฒนาวิธีการปลูกกาแฟร่วมยางพาราต่อไป


สำหรับพันธุ์กาแฟที่เหมาะสมในการปลูกทางภาคใต้ตอนล่างจะเป็นพันธุ์โรบัสตา ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะทรงพุ่มใหญ่ ใบใหญ่สีเขียวแต่ไม่มัน มีกิ่งก้านมาก ดอกออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอมมาก ผลกลม เมล็ดเล็ก ระยะ เวลาออกดอกจนถึงผลแก่ประมาณ 9-11 เดือน กาแฟจะให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 3 ปี และเนื่องจากกาแฟโรบัสตาเป็นพืชผสมข้าม จึงควรปลูกอย่างน้อย 2 พันธุ์ ขึ้นไป เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิต 


กาแฟพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ พันธุ์ชุมพร 2 ชุมพร 84-4 และชุมพร 84-5 ที่ให้ผลผลิตสูง และเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ


คำแนะนำในการปลูกกาแฟร่วมยางพาราสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

1. ลือกพื้นที่ปลูกที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ขุดหลุมให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึกตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยประมาณที่ 50x50x50 เซนติเมตร โดยการปลูกกาแฟพันธุ์แนะนำ ได้แก่ พันธุ์ชุมพร 2 และ ชุมพร 84-4 ที่ให้ผลผลิตสูง การปลูกระหว่างร่องยางพาราโดยปลูกสลับพันธุ์กาแฟ 2 พันธุ์คือ พันธุ์ชุมพร 2 และ พันธุ์ชุมพร 84-ปลูกกาแฟ ด้วยระยะปลูกระหว่างต้น 3X3 เมตร โดยห่างจากต้นยางพารา 1.5 เมตร

2. การปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน โดยเพิ่มปุ๋ยคอก วัสดุปรับปรุงดินต่างๆ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และ 15-15-15 ผสมกับดินที่ขุดจากหลุม คลุกเคล้าผสมกัน

3. การเตรียมต้นกาแฟโรบัสตาอายุต้นประมาณ 6 - 8 เดือน หรือมีใบจริง 5-7 คู่ขึ้นไป ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคแมลง แล้วน่ามาเตรียมปลูกในแปลงที่มีการเตรียมหลุมไว้

4. การใส่ปุ๋ย

  • - ปีที่ 1 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 300 กรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง พร้อมทั้ง ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 100 กรัม/ต้น/ปี และปุ๋ยอินทรีย์ 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ในช่วงต้นฤดูฝน และกลางหรือปลายฤดูฝน
  • - ปีที่ 2 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 500 กรัมต่อต้นต่อปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 300 กรัม/ต้น/ปี และปุ๋ยอินทรีย์ 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ในช่วงต้นฤดูฝน และกลางหรือปลายฤดูฝน
  • - ปีที่ 3 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-17+2Mg อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 300 กรัม/ต้น/ปี และปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก 3 - 5 กิโลกรัม/ต้น ปูนขาว/โดโลไมท์ 0.5 - 1 กิโลกรัม/ต้น ในช่วงกลางและปลายฤดูฝน (เมื่อผลมีขนาดเท่าเม็ดพริกไทย) ปีที่ให้ผลผลิตแล้ว และเป็นต้นไป ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 15-15-15 และ 13-13-21 และปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก

5. การตัดแต่งกิ่ง ปีที่ 1 เมื่อต้นมีใบ 5--6 คู่แรกและใบคลี่โตเต็มที่แล้ว ตัดปลายยอดที่ความสูง 50 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นมี กิ่งหลักเพิ่ม เลือกไว้ 3--5 ปีที่ 2--3 และปีที่ 3 เป็นต้นไป ดูแลให้มีกิ่งหลัก 3--5 กิ่งที่สมบูรณ์


วิธีการปลูกกาแฟร่วมยางพารา มี 2 แบบ คือ

  • แบบที่ 1 การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมกับปลูกยางระบบใหม่ โดยปลูกยางพารา ระยะปลูก 3x12 เมตร และปลูกกาแฟโรบัสตาระหว่างแถวยางโดยปลูก 1-3 แถว โดยปลูกต้นกาแฟระยะปลูก 3x3 เมตร หลังจากดำเนินการปลูก 2 ปี พบว่า การเจริญเติบโตดี ไม่มีความแตกต่างกัน จากการปลูก กาแฟร่วมเนื่องจาก ในยางพาราอายุ 2 ปี ระบบรากยังไม่มารบกวนระบบหาอาหารของรากกาแฟ จึงท่าให้กาแฟเจริญเติบโตดีเริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3


  • แบบที่ 2 การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมกับปลูกยางระบบเดิม จากการปลูกร่วมยางพาราที่ให้ผลผลิตแล้วอายุมากกว่า 10 ปี ระยะปลูก 3x7 เมตร จากนั้นจึงตัดต้นยางพาราออก 1 แถว เว้น 1 แถว ทำให้ยางพารามีระยะปลูก 3x14 เมตร และปลูกต้นกาแฟ 1-3 แถว โดยมีระยะห่างระหว่างต้นกาแฟ 3 เมตร พบว่า ต้นกาแฟที่อยู่ใกล้ต้นยางพาราน้อยกว่า 6 เมตร แสดงอาการขาดธาตุอาหารอย่างชัดเจน ส่วนต้นกาแฟที่มีระยะห่างจากต้นกาแฟมากกว่า 6 เมตร ต้นกาแฟเจริญเติบโตได้ดี

.

ผู้เขียน : บุญณิศา ฆังคมณี ทรงเมท สังข์น้อย ฑณัช บูรณวัตน์

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา