Durain

[ทุเรียนเงินล้าน][bsummary]

Date Palm

[อินทผลัม][twocolumns]

Cactus

[แคคตัส][bleft]

Adenium

[ชวนชม][bsummary]

Garden

[จัดสวน][bsummary]

ทุเรียนสะเด็ดน้ำ ของดียะลา พร้อมมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน และหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา แถลงข่าวความพร้อมก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวทุเรียน และผลักดันมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) พร้อมออกมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน พร้อมตอกย้ำภาพลักษณ์ทุเรียนคุณภาพจังหวัดยะลาอร่อยที่สุด

 

นายอำพล พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้แถลงข่าวความพร้อมก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวทุเรียนจังหวัดยะลา ซึ่งได้จัดทำวาระจังหวัดยะลาเพื่อการแก้ไขปัญหาทุเรียนด้วย BCG Model โดยจัดทำแนวทางขับเคลื่อนวาระ “ยะลาเมืองทุเรียน” ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทุเรียนของจังหวัดยะลา ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและตลาดทุกระดับ รวมทั้งออกมาตรการกำกับดูแลให้เกษตรกร มือคัด มือเคาะตลอดถึงผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งในประเทศและและส่งออกต่างประเทศ อยู่ในระบบปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ สามารถตรวจสอบได้ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของผลไม้คุณภาพดีจังหวัดยะลาให้เป็นที่รู้จัก และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพปลอดภัย  

ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า การผลิตทุเรียนจังหวัดยะลาในปี 2567 มีพื้นที่ปลูกรวม 105,401 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 9.53 พื้นที่ให้ผลผลิต จำนวน 73,382 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 9.87 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 73,358 ตัน อำเภอที่มีการปลูกเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อำเภอเบตง เนื่องจากระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ราคาทุเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรทำการปลูกทุเรียนทดแทน ยางพารา ลองกอง และเงาะ   โดยผลผลิตทุเรียนรุ่นแรกพันธุ์เบา เช่น มูซานคิง โอฉี (หนามดำ) จะออกสู่ตลาดตั้งแต่ต้นเอนมิถุนายน ส่วนทุเรียนหมอนทองซึ่งเป็นพันธุ์หนักรุ่นแรกจะเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนมิถุนายน และช่วงที่มีปริมาณทุเรียนหมอนทองออกสู่ตลาดจำนวนมากคือช่วงปลายเดือนกรกฎาคม – กลางเดือนสิงหาคม และคาดว่าปีนี้ทุเรียนจะทยอยเก็บเกี่ยวได้ถึงต้นเดือนตุลาคม

 

สำหรับปัญหาทุเรียนอ่อนและหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน จังหวัดยะลาได้มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด โดยออกประกาศจำนวน 6 ฉบับ เพื่อกำกับดูแลให้เกษตรกร ผู้ประกอบการส่งออก ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกทุเรียน ให้มีการจำหน่ายสินค้าคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของทุเรียนคุณภาพดีจังหวัดยะลา ให้เป็นที่รู้จักและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัย ดังนี้

  • 1. ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง มาตรการในการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด ปี 2567 กำหนดวันเริ่มเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทอง 23 กรกฎาคม 2567
  • 2.ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง ขอความร่วมมือเกษตรกร ผู้ประกอบการค้าส่ง ค้าปลีก และผู้จำหน่ายทุเรียน ไม่ซื้อ ไม่จำหน่าย ทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) หรือกระทำการโดยวิธีหนึ่งวิธีใดที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นทุเรียนคุณภาพ เพื่อช่วยกันสร้างภาพลักษณ์ทุเรียนคุณภาพตลอดจนรักษาชื่อเสียงของจังหวัดยะลา
  • 3.ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง การกำหนดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแป้งหรือน้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน (พันธุ์หมอนทอง น้ำหนักแป้งไม่น้อยกว่า 32 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์พวงมณีน้ำหนักแป้งไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ชะนีน้ำหนักแป้งไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ )
  • 4.ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง มาตรการดำเนินคดีแก่ผู้จำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) เช่น โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( ถ้าผู้กระทำผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
  • 5.ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการตรวจก่อนตัด เป็นมาตรการที่เกษตรกร จุดให้บริการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียน สถานประกอบการและชุดปฏิบัติการตรวจตู้ก่อนส่งออก
  • 6.ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง การขึ้นทะเบียนนักตัดนักคัดทุเรียน มือเคาะทุเรียน ผู้ประกอบการ รถรั้วและรถเร่ แผง ล้ง ผู้ประกอบการค้าทุเรียน ในพื้นที่จังหวัดยะลา ให้ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลา หรือลงทะเบียนรูปแบบออนไลน์ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ก่อนซื้อ ขาย จำหน่ายทุเรียน เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ป้องกัน และควบคุมคุณภาพทุเรียน

 


ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า การขับเคลื่อนวาระ ยะลาเมืองทุเรียน และมาตรการที่ออกมาใช้จะสามารถลดปัญหาทุเรียนอ่อนและหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะเป็นมาตรการที่รักษาภาพลักษณ์ทุเรียนคุณภาพของจังหวัดยะลาซึ่งเป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุดให้เป็นที่ยอมรับในระยะยาว

.

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์