![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjnos72JCQyVn40xE_3AJV5swGA5549Ps_12_LZv8wSjC7ZLXoUc3UbJjikzwGgcZo4W55l0xMbgb57YEBlqtDrIk7z8OwRmrE-xj9Us6CkpRbmig5J6UtjqMRp9SLt_45Cbt8T1ntMseLm2whYz8LAAjwfsjUilw96bsvV96vZGzxT4YIUUjqMISkKhejC/s16000-rw/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9F%20(1).jpg)
ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากเริ่มพบการเข้าทำลาย ให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง
ลักษณะของเพลี้ยไฟทุเรียน คือ
ในตัวเต็มวัยจะมีลำตัวแคบยาว สีเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน เป็นแมลงขนาดเล็ก
ขอบปีกมีเส้นขนเป็นแผง ขนาดยาวประมาณ 0.71 – 1.05 มิลลิเมตร
กว้างประมาณ 0.14 – 0.19 มิลลิเมตร มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ไข่มีขนาดเล็ก คล้ายเมล็ดถั่วสีขาว ขนาดยาว 0.25 มิลลิเมตร
กว้าง 0.10 มิลลิเมตร ฝั่งอยู่ในเนื้อเยื่อพืชบริเวณใกล้เส้นกลางใบ
ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืช
ส่งผลให้ใบอ่อนหรือยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้ง หงิกงอ
และไหม้
สำหรับการป้องกันกำจัด นอกจากการสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ และสำรวจถี่ขึ้นในช่วงสภาพอากาศร้อน ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานแล้ว เกษตรกรควรอนุรักษ์และใช้ศัตรูธรรมชาติเข้าช่วย ได้แก่ แมงมุมชนิดต่างๆ ตัวอ่อนแมลงช้าง และเพลี้ยไฟตัวห้ำ ซึ่งหากพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลาย นำใส่ถุงมิดชิด ทิ้งนอกแปลง
หากเกิดการระบาดเพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถใช้สารกำจัดแมลงได้แก่ อิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 10 มิลลิลิตร โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้ เกษตรกรไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานได้
.
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร