Durain

[ทุเรียนเงินล้าน][bsummary]

Date Palm

[อินทผลัม][twocolumns]

Cactus

[แคคตัส][bleft]

Adenium

[ชวนชม][bsummary]

Garden

[จัดสวน][bsummary]

ทำความรู้จักหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน พร้อมวิธีป้องกันและกำจัด

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (durian seed borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ Mudaria luteileprosa Holloway หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียน ถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียนทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ

 

กระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือก เป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เกษตรกรเห็นแต่รูไม่พบ ตัวหนอนอยู่ภายในหรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว หลังจากหนอนเจาะออกมาจึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า “หนอนรู” 

ผีเสื้อเจาะเมล็ดทุเรียนวางไข่ในผลทุเรียน
ลักษณะของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (ซ้าย) หนอนใช้ดินหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้ (ขวา)

👉การป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

1. เกษตรกรไม่ควรขนย้ายเมล็ดทุเรียนจากที่อื่นเข้ามาในแหล่งปลูก ถ้ามีความจำเป็น ควรทำการคัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง หรือแช่เมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง เช่น มาลาไทออน อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล อัตรา 50 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร ก่อนทำการขนย้ายจะช่วยกำจัดหนอนได้

 

2. การห่อผลระยะยาวโดยใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่นขนาด 40x75 เซนติเมตร เจาะก้นถุง เพื่อระบายน้ำ สามารถป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไปจนถึงเก็บเกี่ยว ก่อนห่อตรวจสอบผลทุเรียน ที่จะห่อให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง ถ้ามีให้กำจัดโดยใช้แปรงปัดออก แล้วพ่นด้วย สารคลอร์ไพริฟอส อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ความเสียหายจากการทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
หนอนเจาะรูออกจากลูกทุเรียน

3. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน โดยการพ่นสารฆ่าแมลงไซเพอร์เมทริน/ โฟซาโลน อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผล อายุ 6 สัปดาห์ และห่อด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่น ขนาด 40x75 เซนติเมตร เจาะมุม ก้นถุงเพื่อระบายน้ำ เมื่อผลอายุ 10 สัปดาห์ โดยเลือกห่อเฉพาะผลที่มีขนาดและ รูปทรงได้มาตรฐาน ก่อนห่อผลควรมีการสำรวจเพลี้ยแป้งและพ่นสารคลอร์ไพริฟอส เมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาด

 

4. การใช้กับดักแสงไฟแบล็คไลท์ (black light) เป็นเครื่องมือตรวจการระบาด ของผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เพื่อให้ทราบว่ามีการระบาดในช่วงไหน สามารถช่วยให้การใช้สารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดจำนวน การพ่นสารฆ่าแมลงจากที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติอยู่ที่พ่นตั้งแต่ทุเรียนเริ่มออกดอก 

ห่อผลทุเรียนด้วยถุงพลาสติก เป็นหนึ่งในวิธีป้องกัน

5. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลง เมื่อพบว่าตัวเต็มวัยเริ่มระบาดให้ใช้สารคาร์บาริล เดลทาเมทริน แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน เบตา-ไซฟลูทริน และ ไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน อัตรา 50 กรัม 15, 20, 20 และ 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์

ที่มา : เอกสารการจัดการการผลิตทุเรียน กรมวิชาการเกษตร