เกษตรกรยุค 4.0 อย่างเราๆ จะมาทำเกษตรแบบด้นๆ
เดาๆ รอเทวดาฟ้าฝนมาเอื้ออาทรแบบเมื่อก่อนไม่ได้แล้วนะครับ
เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการเกษตรพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ชีวิตของเกษตรกรง่ายขึ้น
━━━━━━━━━━━━
เพราะเทคโนโลยีด้านการเกษตรพัฒนาในทุกด้าน ทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา รวมถึงการเก็บเกี่ยวและยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิต เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ชีวิตของเกษตรกรง่ายขึ้นเราก็นำมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แม้แต่พืชต้นแยกเพศอย่างอินทผลัมที่เป็นอุปสรรคในการผลิตเชิงปริมาณหากขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้ต้นตัวผู้ในสัดส่วนมากเกินไป นำไปสู่การสูญเสียโอกาสทางรายได้ จึงมีการนำเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาใช้เพื่อกำหนดสัดส่วนต้นตัวผู้และตัวเมียให้เหมาะกับการผลิตเป็นพืชเศรษฐกิจ
ครั้งที่แล้ว Admin ต้นไม้และสวนออนไลน์ได้พูดคยกับ
คุณวิทยา ช่ำชอง เจ้าของสวน I date palm เรื่องจุดเด่นของต้นกล้าอินทผลัมชนิดทานผลสดที่เป็นต้นตัวเมียพร้อมกับแนะนำสายพันธุ์ที่รสชาติดีและเหมาะสำหรับปลูกในเมืองไทยไปแล้ว
ครั้งนี้เราจะมาพูดถึงต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตัวผู้กันบ้างว่ามีความสำคัญอย่างไร
ทำไมเราถึงควรที่จะควักกระเป๋าซื้อต้นตัวผู้มาติดบ้านติดสวนเอาไว้
วิทยาให้ข้อมูลกับเราว่าสายพันธุ์อินทผลัมตัวผู้ที่เป็นที่นิยมมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ จาร์วิส, ฟาสท์, เซกกา และ กานนามิ
3-5 เท่านี่ ถ้าสมมุมติเราขุดหลุมปลูกอินทผลัม 100 หลุม ยกตัวอย่างบาร์ฮีคุณจะต้องปลูกต้นตัวเมียเนื้อเยื่อได้เพียง 70 ต้น ปลูกเพาะเมล็ด 30 ต้น แต่ถ้าคุณเลือกใช้ตัวผู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคุณจะปลูกบาร์ฮีได้ถึง 90 ต้น ปลูกเนื้อเยื่อตัวผู้แค่ 10 ต้นก็เพียงพอ
20 ต้น ที่เป็นต้นตัวเมียที่เพิ่มขึ้นมา 20 ต้น x ขั้นต่ำ 100 กก./ต้น/ปี x ราคา 500 บาท ในปัจจุบัน เป็นตัวเลข 1 ล้าน บาท/ปี นี่คือรายได้ที่เป็นตัวเงินกลับคืนมา
ถ้าคุณใช้ ตัวผู้ 10 ต้นส่วนต่าง 20 ต้นที่เพิ่มขึ้นมามีแต่รายจ่ายครับ ไม่มีรายได้เข้ามา นี่คือความคุ้มทุนของกานามิ
ในประเทศไทยเราอาจจะยังไม่มีความชำนาญมากพอในการผสม วิทยาจึงแนะนำที่ 1:10 ตัวเลขนี้คือเผื่อเหลือเผื่อขาดเผื่ออนาคต เพราะเกสรกานนามิที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูงถึง 36,000 - 40,000 บาท/กก. ซึ่งเกสรที่เหลือจากการใช้ในสวนนี่ก็สามารถจำหน่ายได้
กานนามิที่เห็นเป็นไซส์ที่ออกมาจากแล็บ ความสูง 20-30 ซม. ระยะเวลาถึงไซส์ที่เปลี่ยนจากแคปซูลมาลงกระถางสูงอายุจะประมาณ 2-3 เดือนเป็นไซส์ที่เริ่มแตกใบขนนกสามารถลงปลูกในหลุมได้เลย
ผ่านไป 2 ปีก็จะกลายเป็นกานนามิต้นวัยรุ่นออกผลผลิตออกช่อได้แล้วแต่อาจจะได้ไม่มากเท่าใดนักเพราะว่าเป็นต้นวัยรุ่น ถ้าโตเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 5-8 ปี ขึ้นอยู่กับพื้นที่ การดูแลรักษา การเอาใจใส่
เห็นไหมครับว่าสมัยนี้ความรู้ เทคโนโลยี สามารถตอบโจทย์เกษตรอย่างเราได้มากขึ้น ในต่างประเทศที่ผลิตอินทผลัมหรือพืชอื่นๆ ในเชิงเศรษฐกิจจะเน้นการใช้ต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพราะจะได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนต้นแม่ รสชาตินิ่ง คำนวณปริมาณผลผลิตได้แม่นยำเพราะทุกต้นมาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อชุดเดียวกัน
ยิ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างอินทผลัมที่เป็นไม้แยกเพศแล้วด้วย การใช้ต้นเนื้อเยื่อจึงสำคัญเพราะต้องคำนวณปริมาณต้นที่ปลูกให้มีสัดส่วนต้นตัวผู้และตัวเมียได้เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตคุ้มค่ามากที่สุดนั่นเอง
━━━━━━━━━━━━
ขอขอบคุณ
━━━━━━━━━━━━
เพราะเทคโนโลยีด้านการเกษตรพัฒนาในทุกด้าน ทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา รวมถึงการเก็บเกี่ยวและยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิต เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ชีวิตของเกษตรกรง่ายขึ้นเราก็นำมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แม้แต่พืชต้นแยกเพศอย่างอินทผลัมที่เป็นอุปสรรคในการผลิตเชิงปริมาณหากขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้ต้นตัวผู้ในสัดส่วนมากเกินไป นำไปสู่การสูญเสียโอกาสทางรายได้ จึงมีการนำเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาใช้เพื่อกำหนดสัดส่วนต้นตัวผู้และตัวเมียให้เหมาะกับการผลิตเป็นพืชเศรษฐกิจ
━━━━━━━━━━━━
ชม VDO คลิก
ชม VDO คลิก
วิทยาให้ข้อมูลกับเราว่าสายพันธุ์อินทผลัมตัวผู้ที่เป็นที่นิยมมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ จาร์วิส, ฟาสท์, เซกกา และ กานนามิ
━━━━━━━━━━━━
กานนามิ (Ghannami) อินทผลัมสายพันธุ์ดีให้เกสรตัวผู้ดี
ยอมรับจากทั่วโลก
━━━━━━━━━━━━
I date palm ขอแนะนำสายพันธุ์ กานนามิ Ghannami ที่เป็น 1 ใน 4 ของสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก
จุดเด่นคือให้เกสรปริมาณมาก อนุภาคเล็กผสมติดง่าย
ทำให้ผลผลิตออกมามีรสชาติหวานขึ้น ใหญ่ขึ้น ลดค่าแทนนินหรือค่าความฝาดของผลผลิต
แต่จุดเด่นที่สำคัญมากๆ ของกานนามิแบบเพาะเนื้อเยื่อก็คือให้ปริมาณเกสรมากกว่าต้นเพาะเมล็ด
3-5 เท่า3-5 เท่านี่ ถ้าสมมุมติเราขุดหลุมปลูกอินทผลัม 100 หลุม ยกตัวอย่างบาร์ฮีคุณจะต้องปลูกต้นตัวเมียเนื้อเยื่อได้เพียง 70 ต้น ปลูกเพาะเมล็ด 30 ต้น แต่ถ้าคุณเลือกใช้ตัวผู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคุณจะปลูกบาร์ฮีได้ถึง 90 ต้น ปลูกเนื้อเยื่อตัวผู้แค่ 10 ต้นก็เพียงพอ
20 ต้น ที่เป็นต้นตัวเมียที่เพิ่มขึ้นมา 20 ต้น x ขั้นต่ำ 100 กก./ต้น/ปี x ราคา 500 บาท ในปัจจุบัน เป็นตัวเลข 1 ล้าน บาท/ปี นี่คือรายได้ที่เป็นตัวเงินกลับคืนมา
ถ้าคุณใช้ ตัวผู้ 10 ต้นส่วนต่าง 20 ต้นที่เพิ่มขึ้นมามีแต่รายจ่ายครับ ไม่มีรายได้เข้ามา นี่คือความคุ้มทุนของกานามิ
━━━━━━━━━━━━
กานามิ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ Red
Ghannami และ Green Ghannami 2 ตัวนี่ต่างกันแค่สี
━━━━━━━━━━━━
Green Ghannami (กานนามิ กรีน) หรือจะเรียก
กานนามิเหลืองจะใช้ผสมกับสายพันธุ์ที่ลูกสีเหลือง เช่น บาร์ฮี คาลาส
หรือพันธุ์อื่นๆ ที่ออกลูกสีเหลือง
Red Ghannami (กานนามิ แดง)
จะใช้ผสมกับพันธุ์ที่ไม่ใช่สีเหลือง เช่น ชนิดที่สีออกแดง ชมพู ส้ม
จะทำให้ผลสีเข้มขึ้น
คำถามก็คือถ้าเราเอาเรดกานนามิไปผสมกับบาร์ฮีจะเป็นอย่างไร สีของบาร์ฮีก็จะเข้มขึ้น กลายเป็นสีเหลืองทอง ผสมกับสีแดงก็เป็นสีแดงสด ผสมสีส้มอย่างอัมเอทดาฮาลก็จะกลายเป็นสีส้มเข้มขึ้น
ส่วนกรีนกานนามิถ้าเอามาผสมกับบาร์ฮีก็จะได้สีบาร์ฮีเดิมๆ ไม่มีผลส่งเสริมเรื่องสี แต่ถ้าเอาไปผสมกับสายพันธุ์ที่เป็นสีแดง อย่าง ฟาสท์ อัมเอทดาฮาล อัสวา โครไนซี่ หรือสายพันธุ์อื่นๆ ที่เป็นสีแดงก็จะไม่ทำให้สีด้อยลงไปก็เพราะว่าสีที่เข้มเป็นยีนเด่นของเขาอยู่แล้ว
คำถามก็คือถ้าเราเอาเรดกานนามิไปผสมกับบาร์ฮีจะเป็นอย่างไร สีของบาร์ฮีก็จะเข้มขึ้น กลายเป็นสีเหลืองทอง ผสมกับสีแดงก็เป็นสีแดงสด ผสมสีส้มอย่างอัมเอทดาฮาลก็จะกลายเป็นสีส้มเข้มขึ้น
ส่วนกรีนกานนามิถ้าเอามาผสมกับบาร์ฮีก็จะได้สีบาร์ฮีเดิมๆ ไม่มีผลส่งเสริมเรื่องสี แต่ถ้าเอาไปผสมกับสายพันธุ์ที่เป็นสีแดง อย่าง ฟาสท์ อัมเอทดาฮาล อัสวา โครไนซี่ หรือสายพันธุ์อื่นๆ ที่เป็นสีแดงก็จะไม่ทำให้สีด้อยลงไปก็เพราะว่าสีที่เข้มเป็นยีนเด่นของเขาอยู่แล้ว
━━━━━━━━━━━━
สัดส่วนการปลูกอินทผลัมต้นตัวผู้และตัวเมีย
━━━━━━━━━━━━
อัตราส่วนในการปลูก
ในต่างประเทศแนะนำให้ใช้ต้นตัวเมีย 30-50 ต้น : 1 ต้นตัวผู้ อันนี้ก็ไม่ผิด เพราะ FFO แนะนำ
แต่ในต่างประเทศนี่เขามีความรู้ความชำนาญในการฉีดพ่น เป็นมืออาชีพ แล้วก็มีเทคนิค
มีเทคโนโลยีการฉีดพ่นก้าวล้ำนำสมัยในประเทศไทยเราอาจจะยังไม่มีความชำนาญมากพอในการผสม วิทยาจึงแนะนำที่ 1:10 ตัวเลขนี้คือเผื่อเหลือเผื่อขาดเผื่ออนาคต เพราะเกสรกานนามิที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูงถึง 36,000 - 40,000 บาท/กก. ซึ่งเกสรที่เหลือจากการใช้ในสวนนี่ก็สามารถจำหน่ายได้
━━━━━━━━━━━━
วิธีใช้และเทคนิคการเก็บรักษาเกสรตัวผู้ให้ใช้ได้นาน
━━━━━━━━━━━━
วิธีการใช้จะผสมที่เกสรกานนามิ 1 ส่วน ผงทัลคัม 5 ส่วน คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ส่วนการเก็บรักษาในอุณหภูมิปกติของตู้เย็น
ไม่ต้องแช่ห้องฟรีซ อย่าผสมเก็บไว้เยอะๆ แล้วเก็บในตู้เย็น เพราะจะไม่คงสภาวะนาน มีความเสื่อม ควรจะแยกกันไว้ระหว่างผงทัลคัมและเกสรตัวผู้ ถ้าจะให้ดีก็แนะนำ ให้ใส่สารดูดความชื้นพวกซิลิกาเจลเข้าไปในผงเกสรกานนามิเพื่อให้คงประสิทธิภาพได้นาน
ถ้าเราเก็บถูกต้อง ผงเกสรกานนามิจะอยู่ได้ 1-2 ปีเป็นอย่างต่ำ
━━━━━━━━━━━━
อัตราการเติบโตของกานนามิ
━━━━━━━━━━━━
พืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่ว่าจะเป็นอินทผลัมหรือว่ากล้วยจะไม่นับอายุที่อยู่ในแล็บ
แต่เริ่มนับอายุตอนลงดินหรือว่าเปลี่ยนกระถางเท่านั้นกานนามิที่เห็นเป็นไซส์ที่ออกมาจากแล็บ ความสูง 20-30 ซม. ระยะเวลาถึงไซส์ที่เปลี่ยนจากแคปซูลมาลงกระถางสูงอายุจะประมาณ 2-3 เดือนเป็นไซส์ที่เริ่มแตกใบขนนกสามารถลงปลูกในหลุมได้เลย
ผ่านไป 2 ปีก็จะกลายเป็นกานนามิต้นวัยรุ่นออกผลผลิตออกช่อได้แล้วแต่อาจจะได้ไม่มากเท่าใดนักเพราะว่าเป็นต้นวัยรุ่น ถ้าโตเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 5-8 ปี ขึ้นอยู่กับพื้นที่ การดูแลรักษา การเอาใจใส่
เห็นไหมครับว่าสมัยนี้ความรู้ เทคโนโลยี สามารถตอบโจทย์เกษตรอย่างเราได้มากขึ้น ในต่างประเทศที่ผลิตอินทผลัมหรือพืชอื่นๆ ในเชิงเศรษฐกิจจะเน้นการใช้ต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพราะจะได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนต้นแม่ รสชาตินิ่ง คำนวณปริมาณผลผลิตได้แม่นยำเพราะทุกต้นมาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อชุดเดียวกัน
ยิ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างอินทผลัมที่เป็นไม้แยกเพศแล้วด้วย การใช้ต้นเนื้อเยื่อจึงสำคัญเพราะต้องคำนวณปริมาณต้นที่ปลูกให้มีสัดส่วนต้นตัวผู้และตัวเมียได้เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตคุ้มค่ามากที่สุดนั่นเอง
━━━━━━━━━━━━
ขอขอบคุณ
I date palm
20 หมู่ 16 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
20 หมู่ 16 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
Tel : ID line 083-0539666 | 086-5633630
เว็บไซต์ : http://www.idatepalm.com/