“สมัยที่ทำงานชลประทาน ผมไปตรวจภัยแล้งที่ อ.คง บังเอิญไปเห็นชวนชมต้นมหึมาต้นเท่าถังสองร้อยลิตรสูง 3 เมตร อยู่กลางทุ่งนา ออกดอกดกสวยดี แต่ตอนนั้นผมยังไม่รู้จักชวนชม จนเมื่อ 2-3 ปีต่อมา
ชวนชมเริ่มดังผมเลยนึกถึงชวนชมต้นที่เมืองคงน่าจะเป็นชวนชมเลยกลับไปดูอีกครั้ง
ปรากฏว่าเจ้าของเขาถมที่และชวนชมต้นนั้นก็ตายไปแล้ว แต่ยังมีกิ่งที่เขาตัดมาชำไว้ 3 กิ่ง ผมจึงขอซื้อมา 2 กิ่ง
สืบที่มาที่ไปเจ้าของบอกว่าชวนชมต้นนี้ได้มาจากเมืองจีซาน ประเทศซาอุ”
นี่คำบอกเล่าของ จรัญ
วงษ์ประเสริฐ เจ้าของ “สวนคงประทาน” ถึงชวนชมพันธุ์หนึ่งที่มีต้นใหญ่และออกดอกดกมากเป็นพิเศษ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi2zztskZKz6UEZaeAVdRjLILd8JuOfLk3sSieHWdn2eMpEjb_Nle-MRlzj1YN2zUiFrNYDtISw4HuywQ8Two12v22TeQnD1R-Dm1cyOqmPmAqAh6H9a09LPJdKNQN2pxypHPqU_GrF3mGz/s640-rw/10393974_682449288529866_6953278184705996972_n.jpg) |
จรัญ วงษ์ประเสริฐ เจ้าของ “สวนคงประทาน” |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhjNP2FoG252iJCKyNduWxs7uuP-FbQXsCu1UwPUiEi2eU5xfu9wDNkdqUuYkrVlXEQ7XwwST9tl-svCuBM1kgL8chdncR1XhuuOuwPhGhBoGXaTYTY-GdWEtd2UKKJfXu_kJQWvwbNBn9N/s640-rw/12472237_890237841084342_3985537735230040142_n.jpg) |
ราชินีพันดอกกิ่งตอน กิ่งแม่รุ่นแรก ของ “สวนคงประทาน” |
“ผมปรึกษาป้าแดง ขอนแก่นว่า
จะตั้งชื่อชวนชมพันธุ์นี้ว่าอะไรดี ป้าแดงเสนอให้ตั้งว่า ไอ้ดอกดก
เพราะดอกมันดกมาก แต่ผมว่ามันไม่เพราะ สุดท้ายจึงตั้งชื่อ ราชินีพันธุ์ดอก
และใช้ชื่อนี้เป็นต้นมา แต่ภายหลังมีการเขียนกันเพี้ยนเป็นราชินีพันดอก
จนปัจจุบัน”
ส่วนที่มาของราชินีพันดอกกิ่งตอนคุณจรัญเล่าว่า
เกิดจากเวลาตัดแต่งกิ่งเขาจะนำกิ่งที่ตัดมาเสียบไว้กับตอไทย พอกิ่งยาวก็ตอน
ชุดแรกตอนได้ร้อยกว่าต้น ซึ่งถือเป็นไม้กิ่งตอนยุคแรกๆ ของสวนคงประทาน
ปัจจุบันน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ก่อนจะกระจายไปทั่วในกลุ่มนักเล่น
“เฮียเม่นที่ราชบุรีมาซื้อไปทำเป็นบอนไซ
เพราะลักษณะของไม้กิ่งตอนเป็นทรงต้น ข้อถี่ ใบเล็ก ดอกดก และเข้าลวดกิ่งได้”
นี่จึงเป็นลักษณะเด่นของราชินีพันดอกกิ่งตอนที่มีผู้มองเห็นว่าสามารถนำไปทำเป็นบอนไซได้
ด้วยลักษณะไม้กิ่งตอนไม่มีหัว
เป็นไม้ลำต้นแปลกไปจากชวนชมพันธุ์อื่น ประกอบกับลักษณะกิ่งมีข้อสั้นถี่ ใบเล็ก
ขยายพันธุ์ง่าย และจุดเด่นที่สำคัญ มีดอกดกเหนือกว่าพันธุ์อื่น
จุดเด่นนี้เองที่นักเล่นและสะสมชวนชมมองเห็น นำมาเลี้ยงให้ใหญ่แบบธรรมชาติก็สวย
และที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ
นำมาเลี้ยงเป็นไม้สไตล์บอนไซดูจะได้รับความนิยมมากที่สุด เพิ่มความงดงาม
และมูลค่าไปพร้อมๆ กัน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEizLbQ2EieTG1cCN-CVBpq7tr0dOI7BWX4FIqei4bgBbzvMVkV6948oPCzqjdH9wwSj-D6qHuuas2K57anvFgmh12on5ATwPgXUeQ9SRUWAUV9BoC8dC8HFGRbUw_ohAzprrQfiJ_B8Dg_O/s640-rw/12036766_1501469816837147_4062463074346393500_n.jpg) |
ราชินีพันดอกกิ่งตอน ทรงบอนไซ (สวนปราณีฟาร์ม) |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgTRDXLRaMRruRCM1Rljsnxp2ZdSfyMexqBfmLePR9J32lw2zbmdQWjetQ7lDU2sr2-gKmARbNPPmWj7HVak_Xr5uSpGivs2230uAZ0sW6vdpu46uu1_y_HVQw1H09LuXIk5sH0WjYYxQ2C/s640-rw/DSC05580.JPG) |
ราชินีพันดอกกิ่งตอน กิ่งแม่รุ่นแรก ออกดอกเต็มต้น ภาพจากเวทีประกวดชวนชม |
ขณะเดียวกันราชินีพันดอกที่ขยายพันธุ์ด้วยรูปแบบอื่นก็ได้รับความนิยมพอๆ
กัน เช่น ไม้เสียบยอด ด้วยความโดดเด่น ออกดอกง่าย และดก เมื่อนำไปเสียบกับตอสวยๆ
หรือต้นตอขนาดใหญ่ เวลาออกดอกอลังการงานสร้างอย่างยิ่ง
อีกรูปแบบหนึ่งคือ ไม้เพาะเมล็ด
คุณจรัญเคยบอกกับผู้เขียนว่า ราชินีพันดอกมีเชื้อแรงมาก
ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งเขาจะให้เกสรราชินีพันดอกเขี่ยผสมกับชวนชมพันธุ์อื่นๆ
ในกลุ่มอาราบีคัม จะทำให้ติดฝักง่าย และดก
และลูกที่ได้มักจะมีเชื้อของราชินีติดมาด้วย คือ ใบมัน และดอกดก
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhYEQTDBYVaNuNIBSPXrrOFO5SYtBaRCb9exxSH9VQSCBjiF-q2Wvk5hM-g2-jIEzMeiF5qSsoWHBznSkS0FEQVJv5fjGnfAU1xxdTlyLg-LJQpVq_oz9PnfCxnqajxFfElVD7YsVdL-hlo/s640-rw/DSC_2117.JPG) |
ลักษณะของชวนชมราชินีไม้เมล็ดทรงธรรมชาติ |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh3gqXs1teQvWY_XXZblPnFm9dBfbuuGdqfVs0yIVgsg4gzbvYyQKZ2jmsrpRAytuhb_lTAIpGZPyl4V3PG1NExUHDWHTzkbYT1gAMP6HAYtEE9Y_kfZjUJb3899vD8zumTtMnwvuCPcblm/s640-rw/DSC_0008.JPG) |
ราชินีพันดอกไม้เมล็ด ตัดทดกิ่ง |
แต่ในส่วนของราชินีพันดอกเพาะเมล็ดโดยธรรมชาติ
ในอดีตไม่ได้รับความนิยมมากนัก ซึ่งแตกต่างจากการขยายพันธุ์ชวนชมตระกูลยักษ์ไม่ว่าจะเป็นอาราบีคัมหรือไทยโซโคนิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เพราะมีความเชื่อกันว่าไม้เมล็ดให้รูปทรงที่ไม่ผิดเพี้ยนไปจากต้นแม่พันธุ์
และมีความนิ่งทางสายพันธุ์สูงหากผสมตัวมันเอง
แต่แปลกที่ราชินีพันดอกกลับนิยมเล่นไม้เมล็ดน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับกิ่งตอน
อาจเป็นธรรมชาติของชวนชมพันธุ์นี้ลักษณะการเดินกิ่งพุ่งสูง
ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับความนิยมของนักเล่นที่ต้องการสไตล์ อ้วน เตี้ย
กิ่งสั้นมากกว่า ด้วยเหตุนี้ความนิยมชวนชมไม้เมล็ดจึงน้อย
หรือไม่ก็ต้องเสาะหาต้นที่มีลักษณะคอมแพค
ซึ่งธรรมชาติมีอยู่เพียงไม่กี่ต้นและมีให้เห็นอยู่ในเวทีประกวด
ไม่แปลกที่มีเสียงบอกว่าราชินีไม้เมล็ด “เล่นยาก”
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjaLQcNh3lqPjGd96EZRYW-pRm06ipItmXtmsFnE74QYDEcfdWhxBbdvtUh24wj3sLzlhqyrKLpAj4Ry3g9XM5el787Io5xlcVCiNh0NN3Nqlu3MolW8WFMn3D8L3U2kxi9X7mjUOrbX_nH/s640-rw/1920307_1564879840390447_4810187946856078582_n.jpg) |
ราชินีพันดอกไม้เมล็ด |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjj6tkFgvHiDLDMiC2dzMAp3qR7iQSIqoaJbsn2L4vO2rXKA4PxVc3ZNU-mXwU9-UPyViqHAyzS1WaoMuPmBPYvV-8Yk8LXw-Ld4HFqaIPfiQ3g3_Psc9f82V7sciTJqo8vK-Ia0NRSSahv/s640-rw/1.jpg) |
ราชินีพันดอกไม้เมล็ด นำมาทำเป็นทรงบอนไซทรงตกกระถาง (สวนปราณีฟาร์ม) |
แต่ช่วงหลังๆ
ไม้เมล็ดเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น หลังจากนักเล่นเริ่มยอมรับการตัดทดกิ่งมากขึ้น
หากดูหน่วยก้านแล้วว่าองค์ประกอบส่วนล่างของต้นใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นลำต้นหรือราก
แต่กิ่งกลับพุ่งยืดยาว กลายเป็นไม้ใหญ่
เพียงแค่ตัดกิ่งให้สั้นและมีความสมดุลกับลำต้น
เพื่อให้ต้นดูเตี้ยลงรอให้กิ่งใหม่แตกย่อยออกมารับทรงพุ่ม
ตัดแต่งอีกสักมีดสองมีดพุ่มก็จะสวย แผลที่เกิดจากการตัดทดเมื่อกิ่งใหญ่ต้นโตจะ
“กลืน” หายโดยธรรมชาติ ถ้ามีเทคนิคดีๆ ไม่รู้เลยว่าเกิดจากการตัดทด
ซึ่งราชินีพันดอกไม้เมล็ดที่เห็นสวยๆ ในเวทีประกวดหลายต้นก็ใช้เทคนิคนี้เช่นกัน
แต่ด้วยเทคนิคการปลูกเลี้ยงชวนชมปัจจุบัน
นักเลี้ยงที่มีฝีมือสามารถเลี้ยงไม้เมล็ดให้ลำต้นอ้วนเตี้ย กิ่งสั้นกระชับ
ทรงพุ่มสวย ตามลักษณะของไม้คอมแพ็ค จนทำให้ไม้เมล็ดได้รับความนิยม แซงไม้กิ่งตอน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhWuXQcy1ly5KYldKula4UGp4yQvT7QKOXiy_CpuqZZBaS-d0QJgX-iIyUnkimoq8PLZdiPk2IMoG_KkhNG6Ky9NCfrCmiU_rBMSc1vS94I0M1oj1rbF84Cogby9p4tGpYbdgxayw8FzkGK/s640-rw/httpswww.facebook.comphoto.phpfbid%253D455100564639450%2526set%253Dg.141629082700825%2526type%253D1%2526theater.jpg) |
ราชินีพันดอกไม้เมล็ด |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiJNBFH_FbK3oSLYXW_Ej1zeozjNxAykRtnXXzWqarV5aLFctlwtrh97G3TSyXwYkI9dcPtHEasUMioYwK0L6P9JKZxwHKC6gjwlHlSPMLU5rvidMPey15oZJddl8Av4IUU6ZnWf7xnNZIg/s640-rw/10527370_694776237268803_4302157883081022672_n.jpg) |
ราชินีพันดอกไม้เมล็ด |
ส่วนเทคนิคหรือสไตล์การปลูกเลี้ยงราชินีไม้เมล็ดที่นิยมมากที่สุดคือแบบบอนไซ
ซึ่งไม่ใช่เป็นการนำกฎของบอนไซมาใช้ทั้งหมด หากแต่เป็นการ “ล้อเลียน” รูปทรงเท่านั้น
ซึ่งหลักเกณฑ์คือการเข้าลวดเพื่อบังคับให้ฟอร์มเป็นระเบียบ กลมสวยทุกมิติ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiDLvGqru-TlirouVx_Ocob2YzeZn2p-F1YsdOewd3LYo8o1Y9e-hg4-luPpSQjmFB_AjTKv0MLJUguJhlHdhVTI8V0C89NY_MqcfTzIyQEU5kFhGng1c4q9b3f9blb-sUBbRceBFXx6JDR/s640-rw/17.jpg) |
ราชินีพันดอก เสียบยอด (สวนไพสิฐฟาร์ม) |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhIat3lQOwScZ-Lz5qNu0KcU3rTJiPpfY3GxCpTpDxJ6RetTCl8nc1wX1p-lZK5UW-i_BPpEwk4f9UNZg969LxpKccmOWuzYw1AD3jn97cBshRlCJ25gD8i-fG0EsXNGjhqZ8pXdm5CYD7T/s640-rw/DSC09938.JPG) |
ราชินีพันดอกกิ่งตอน |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjgtTTeHCdJkFZIJehI0G6JeXGQ2ntDQL5FfKWZLwJaQMCNewExUpYosU-AAZsXNTDxzOe_dKO2vqjcZOlxRCvUubgIlc85hIWl5TXNFgPPvvu5E5GixLl8_cpSMmZC_kQJkw5hCzZ5i7BF/s640-rw/DSC07622.JPG) |
ราชินีพันดอกกิ่งตอน |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgvBhCtZhvsQJAn_nmX6sBVHP5LzWMpNmUdbccdmZkOc2cnpG-uMTQbzuW0SG8v9QpzB7ASMkLyK_F7Reatafka2Yfq-_Tnlmk5_vRqNKs_SrO1Y8Uzj3Aj4pSUr1J2eUXI1xJEA3rQLD9F/s640-rw/DSC05648.JPG) |
ราชินีพันดอกกิ่งตอน กิ่งแม่รุ่นแรก |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiw5MsfwE07RRVbBbfTWraztHx7KaiNGjFlb-JwtGcXJtJmhyHYEQihOlu0abun7gk7_T_ssT8BGwDorKbX7vn1dvgE6kqBidBuLVQ2V6nOHxGThc8aHwF2jyDUbefSezlzLQtbs19G3ybK/s640-rw/DSC_11.JPG) |
ราชินีพันดอกกิ่งตอน โชว์รากสวยๆ |
ขอขอบคุณภาพจาก : Facebook ราชินีพันดอก (We love RCN.)
Facebook :
จรัญ วงษ์ประเสริฐ