Durain

[ทุเรียนเงินล้าน][bsummary]

Date Palm

[อินทผลัม][twocolumns]

Cactus

[แคคตัส][bleft]

Adenium

[ชวนชม][bsummary]

Garden

[จัดสวน][bsummary]

Flower of Love กุหลาบ ดอกไม้แห่งความรัก มาปลูกกุหลาบกันมั้ย

เท่าที่สังเกตพักนี้เพื่อนๆ คนรักต้นไม้และสวนท่าทางจะอินน์กับการปลูกกุหลาบกันอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ กุหลาบอังกฤษ หลายคนพากันเอารูปดอกกุหลาบสวยๆ ออกมาโชว์ให้เพื่อนๆ คนรักกุหลาบได้ชื่นใจไปตามๆ กัน

วันนี้ทีมงานก็เลยเก็บข้อมูลเรื่องการดูรักษากุหลาบ ของ “คุณลุงจีระ ดวงพัตรา” เจ้าของ “จีระโรส เนิสเซอรี” มาฝาก เพราะครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วมีโอกาสได้พูดคุยกับท่าน และได้เรียนรู้เทคนิคมากมาย ที่สำคัญก็เรื่องของการให้ปุ๋ยกุหลาบนี่ล่ะ 
“เท่าที่ผมได้สัมผัสมาเรื่องการให้ปุ๋ยเจ้ากุหลาบไม่เคยงอแงสักครั้ง เพราะธรรมชาติกุหลาบพันธุ์ใหม่ๆ  ในปัจจุบันออกดอกไม่ยาก แถมยังสีสวย กลิ่นหอม มีให้เลือกหลายแบบ ถ้าเลี้ยงที่บ้านไม่กี่ต้นจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าเลี้ยงเชิงธุรกิจหรือกุหลาบที่ปลูกลงดินเป็นแปลงเพื่อจำหน่ายในรูปแบบ “ล้างราก” ก็ต้องบำรุงให้เขาแข็งแรง สมบูรณ์ กันสักหน่อย”


วันนี้ทีมงานต้นไม้และสวนขอพาคนรักกุหลาบทุกท่านไปดูไปชมกันว่า จีระโรส เนิสเซอรี มีวิธีการเลี้ยงกุหลาบอย่างไรให้สมบูรณ์-สวยงาม จนได้รับความไว้วางใจจากคนรักกุหลาบอังกฤษทั่วโลก

การบำรุงรักษากุหลาบตามแบบฉบับ จีระโรส เนิสเซอรี
1.รดน้ำตอนเช้า ด้วยน้ำสะอาดประมาณ 1 ขัน ( 1 ลิตร ) แต่ถ้าปลูกในภาชะและใช้วัสดุปลูกที่เป็นแกลบควรรดน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ข้อควรระวัง ไม่ควรรดน้ำตอนเย็น เพราะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรค เว้นแต่ว่าจะรดไม่ให้โดนใบกุหลาบ

2.ใส่ปุ๋ยเคมี สูตรที่มี NPK ครบ เช่น 15-15-15 หรือ 12-12-27 สลับกับ 15-0-0 เดือนละ 1 ครั้ง (สลับกันทุก 15-20 วัน) ต้นละประมาณ 10-15 กรัม หรือ 1 ช้อนโต๊ะ แต่ถ้าปลูกลงดินใช้อัตราส่วน 0.5 กก./100 ตารางฟุต หรือใส่ปุ๋ยออสโมโค้ทเม็ดละลายช้า สูตร 4-6 เดือน ร่วมกับปุ๋ย 15-0-0 อีกครั้งละ 5-10 กรัม/ครั้ง
  • ธาตุอาหารรอง ใส่แม็กนีเซียมซัลเฟท (Mg) EPSOM SALT 15 กรัม/2-3 เดือน
  • ธาตุอาหารเสริม หรือจุลธาตุ (Trace Element) เล่น เฟอร์ติลอน คอมบี, เมตาโรเสท หรือโซลูท อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ช้อนชา (5 กรัม) /ต้น ปีละ 2 ครั้ง
3.ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ปุ๋ยปลาหมัก, ปุ๋ยหอยเชอรี่หมัก และปุ๋ยเลือดสัตว์ เป็นปุ๋ยที่เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน (Humus Forming) ควรใช้ปีละ 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะหลังตัดแต่งกุหลาบควรใส่ 1 ครั้ง

4.ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ทำให้ดินร่วนซุยและทำให้การระบายน้ำดี ควรใส่อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยใส่ในลักษณะของเครื่องคลุมดิน (Mulching) หลังตัดแต่งครั้งหนึ่ง และก่อนเข้าฤดูฝนอีกครั้งหนึ่ง ให้หนา 2-3 นิ้ว

5.ฉีดพ่นยา ยาป้องกันโรค (Fungicide) ควบคู่กับการกำจัดแมลงด้วย (Insecticide) ด้วย
  • ยาป้องกันโรคพืช เช่น เบนเลท, ไตรฟอร์รีน, ไตรพิโนโคนโซล อย่างใดอย่างหนึ่งควบคู่กับยากำจัดแมลง เช่น อาเซพเฟลท, แลนเนท, อะบาแม็กติน, ไซเปอร์เม็ททีน อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมน้ำฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน แต่ถ้าเป็นฤดูฝนควรฉีดพ่น 3-4 วัน/ครั้ง แล้วแต่ว่าฝนตกชุกมากหรือน้อย
  •  เพลี้ยไฟ-ไรแดง เป็นศัตรูอันดับต้นๆ ของกุหลาบ สามารถกำจัดได้ดังนี้
  • เพลี้ยไฟ : กำจัดด้วยอิมิดาคลอพริด หรือโปรวาโด โดยผสมเพิ่มลงไปในการฉีดพ่นยากำจัดโรค-แมลง
  • ไรแดง : ควรกำจัดในระยะเริ่มต้นด้วยการฉีดพ่นน้ำแรงๆ ใต้ใบกุหลาบทุกเช้าจะทำให้การระบาดของไรแดงน้อยลง ซึ่งไรแดงจะเริ่มระบาดในฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงต้นฤดูหนาวกำจัดด้วยยากำจัดไรแดงโดยเฉพาะ เช่น โอไมท์, ทอคออทูช ให้ฉีดพ่นใต้ใบติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นก็ฉีดน้ำใต้ใบทุกเช้า
**หมายเหตุ : ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาที่ลมสงบและอากาศไม่ร้อนจัด อุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียสจะฉีดพ่นเวลาเช้าหรือเย็นก็ได้ ควรแต่กายให้มิดชิดเพื่อป้องกันละอองสารเคมีสัมผัสร่างกาย 
“หลายคนอาจจะมองว่ากุหลาบเป็นดอกไม้ที่เลี้ยงยาก โรคแมลงเยอะ จุกจิก จอแจ....แต่ก็ เท่าที่ผมเลี้ยงมาปัญหาใหญ่ที่สุดก็คงเป็นเพลี้ยไฟนี่ล่ะ ที่แก้ไม่ได้สักที พอถึงฤดูกาลเค้าก็ชุกชุมหน่อย พอหมดฤดูกาลก็ไปเอง บางท่านเลี้ยงเพื่อความสวยงามที่บ้านน้อยคนที่จะใส่ปุ๋ยตามสูตรแบบจัดเต็ม แต่เชื่อว่ายังได้ชมดอกสวยๆ ของกุหลาบแน่นอน”