เป็นเวลา 9 ปีเต็มแล้ว ที่ คุณวิวัฒน์ เลาหพันธกิจ มุ่งพัฒนาพันธุ์สับปะรดสีกลุ่มพันธุ์ Neoregeliaผลงานลูกไม้ "New Hybrid" ของเขาที่คนในวงการคุ้นตาดีคือ
ต้นฟอร์มกลม ใบสั้น กระชับ ตามแบบฉบับของ "ไม้คอมแพ็ค" เวลามองจากด้านบนแบบ Bird Eye View เหมือนดอกไม้
รวมถึงพัฒนาจุดอ่อนด้านสีสัน ให้จัดและชัดเจน เมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อนและแดดจัด
“เรื่องนี้เราต้องคัดเฉพาะต้นที่อยู่ได้จริงๆ จึงจะผลิตและทำตลาดได้” คุณวิวัฒน์บอก
เขาให้ข้อมูลอีกว่า
ลูกไม้ทุกเบอร์ก่อนที่จะออกเป็นไม้ตลาดต้องผ่านการเป็นไม้คอลเล็คชั่นมาก่อน
และจะแบ่งออกเป็น 3 ตลาด 3 วัตถุประสงค์ คือ
1. ลูกไม้ Hybrid เพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ต่อไป
2. ลูกไม้ Hybrid เพื่อการสะสม หรือเป็นคอลเล็คชั่นอย่างแท้จริง
กลุ่มไม้ตลาด เขามองว่า เป็นกลุ่มใหญ่
เพราะจะเป็นการนำไปใช้งาน หรือนำไปจัดสวน ตลาดกลุ่มนี้นิยมสีสันสดใส ไม่ว่าจะเป็น
สีเขียว ชมพู แดง ส้ม แต่ต้องเป็นต้องเป็นโทนสีสว่าง
เขียวสว่าง แดงสว่าง ส้มสว่าง ชมูสว่าง
แต่ถ้าเป็นไม้คอลเลคชั่นจะเป็นสีใดก็ได้แต่ต้องมีความแปลกใหม่ในเรื่องของโทนสี
ลวดลายบนใบ หรือแม้กระทั่งฟอร์มต้น
ในอดีตพ่อแม่พันธุ์สับปะรดสีที่ใช้พัฒนาสายพันธุ์ทั้งหมดมาจากต่างประเทศ
แต่ต่อไปคนไทยต้องมีลูกไม้ของไทยส่งออกไปต่างประเทศบ้าง เป็นลูกไม้ที่สวยแบบไทยๆ
เพราะไม้จากทุกประเทศมีความสวยงามโดดเด่นแตกต่างกันออกไป
แม้แต่ไทยเองก็มีสเป็กที่ถูกจริตคนไทย เช่น สีสด สีจัด ฟอร์มดี เลี้ยงง่าย ทนทาน ซึ่งผลงานของเขาได้โบยบินไปแล้วในหลายประเทศ
อย่างในญี่ปุ่นนิยมสับปะรดสีฟอร์มเล็ก
สีสันสวยงาม ได้ทุกเฉดสี เพราะญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นตลาดใช้งานจริง
ไม่มีทั้งพื้นที่ปลูกเลี้ยง
และสภาพอากาศในฤดูหนาวติดลบไม่เหมาะกับการเลี้ยงสับปะรดสี
หากต้องการเลี้ยงเพื่อให้อยู่รอดและขยายพันธุ์ต่อต้องใช้โรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ
ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงเป็นอย่างมาก
ในส่วนของตลาดจีนยังคงเอกลักษณ์ไว้อย่างมั่นคง
คือ ต้องการเชิงปริมาณ ราคาถูก สีสันสดใส เช่น แดง เขียว ชมพู
แต่ตลาดจีนไม่ต้องการความพิถีพิถันในการคัดเลือกไม้มากนัก สามารถถอนต้นส่งได้ทันที
แตกต่างจากตลาดญี่ปุ่นที่ต้องการไม้สวยสมบูรณ์พร้อมใช้งานทันทีโดยไม่ต้องพักไม้
คุณวิวัฒน์เคยบอกไว้ว่า “ผมอยากได้สับปะรดสีแบบคอมแพ็ค สามารถเอามาตั้งบนโต๊ะได้สวยๆ เราไม่ได้เน้นอะไรมากมาย ทำให้คนเห็นแล้วชอบ ผมถือว่าประสบความสำเร็จ”
คุณวิวัฒน์เคยบอกไว้ว่า “ผมอยากได้สับปะรดสีแบบคอมแพ็ค สามารถเอามาตั้งบนโต๊ะได้สวยๆ เราไม่ได้เน้นอะไรมากมาย ทำให้คนเห็นแล้วชอบ ผมถือว่าประสบความสำเร็จ”
แล้วคุณล่ะชอบผลงานการพัฒนาสับปะรดสีของเขาหรือไม่...???
ถ้าชอบ แสดงว่า
คุณวิวัฒน์ประสบความสำเร็จแล้ว...!!!